เตรียมความพร้อมเพื่อโลก COP27 คืออะไร ทำไมถึงสำคัญ หารือเรื่องอะไรบ้าง?


ถึงวาระการประชุมที่สำคัญอีกหนึ่งงานสำหรับ COP27 ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 6-18 พ.ย. 2022 นี้ COP27 คืออะไร ทำไมสำคัญ เขาคุยอะไรกันและทำไมต้องจัดที่อียิปต์

เวียนมาบรรจบครบอีกปีหนึ่ง สำหรับการประชุมระดับนานาชาติของ COP27 หรือ เวทีการประชุมภาคีแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ปีนี้ (2022) จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 27 แล้ว

อย่างที่ทราบกันดีว่า ทุกวันนี้วิกฤตด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศกำลังทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้นการประชุมนี้จึงสำคัญมาก เพราะได้นำเอาผู้นำจากทั่วโลกมาร่วมหารือ แก้ไข วิกฤตโลกร้อนไปพร้อมกัน ร่วมถึงการแนะแนวทางว่าประเทศของตนจะช่วยโลกร้อนอย่างไรบ้าง

 COP27   ใครมาร่วมงานนี้บ้าง?

งานนี้จะได้รวบรวมเอา ประมุขแห่งรัฐ รัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีและผู้เจรจา พร้อมด้วยนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และนักเคลื่อนไหวด้านสภาพภูมิอากาศ นายกเทศมนตรี ตัวแทนภาคประชาสังคม ซีอีโอภาคเอกชนและสื่อมวลชนเขาร่วมฟังบรรยายนโยบายของแต่ละประเทศว่าจะทำอย่างไรบ้าง

 3  COP26เจ้าชายชาลส์ที่ 3 ร่วมเปิดการประชุม COP26

จัดขึ้นเมื่อไหร่ ที่ไหน?

การประชุม COP27 ในครั้งนี้จะจัดขึ้นในวันที่ 6-18 พฤศจิกายน 2022 เป็นเวลาทั้งสิ้น 12 วัน ณ เมืองชาร์ม เอล ชีค (Sharm el-Sheikh) ซึ่งเป็นเมืองของอียิปต์ทางตอนใต้สุดของคาบสมุทรซีนาย (Sinia)

 COP27

ทำไมต้องจัดขึ้นที่อียปต์?

อียิปต์เป็นส่วนหนึ่งของทวีปแอฟริกา ซึ่งมีหลายประเทศในทวีปนี้ต้องต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอย่างลำพังมาโดยตลอด ทวีปแอฟริกาต้องรับผิดชอบการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยมาจากทั่วโลกประมาณ 3% และยังเป็นแนวหน้าของวิกฤตการณ์สภาพภูมิอากาศ พลังงานและอาหารโลก

 COP27   แอฟริกามีหลายประเทศที่มีสถานะเป็นประเทศยากจน ดัวนั้นการประชุม COP27 ที่ถูกจัดขึ้นที่อียิปต์นี้ จึงต้องการให้เหล่าประเทศผู้ร่ำรวยเดินทางมาเห็นความเป็นอยู่ของผู้คนในทวีปนี้บ้างว่าพวกเขาต้องเผชิญกับอะไรบ้าง (ซึ่งคาดเดาไม่ได้ว่าจะได้เห็นจริงๆไหม) และต้องมาเห็นความเจ็บปวดทรมานของประชาชนจากพิษเศรษฐกิจ วิกฤตอาหารปัญหาเรื่องสุขภาพและทรัพยากรธรรมชาติที่ลดลงไปอย่างไม่อาจหวนกลับมา

 COP27   พูดคุยประเด็นอะไรบ้าง?

การประชุมครั้งที่ 27 ของภาคีสู่กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ COP27 จะเป็นผลต่อยอดจากผลลัพธ์ของ COP26 ที่ผ่านมา เพื่อดำเนินการในประเด็นต่าง ๆ ที่สำคัญต่อการแก้ไขปัญหาภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศ แล้วใน 12 วันนี้เขาจะคุยเรื่องอะไรกันบ้างล่ะ

วันที่ 9 พ.ย. - ผู้นำประกาศนโยบายของตนเองและพูดคุยเรื่องการเงิน

วันที่ 10 พ.ย. - วิทยาศาสตร์

วันที่ 11 พ.ย. - การลดคาร์บอน

วันที่ 12 พ.ย. - การปรับตัวและเกษตรกรรม

วันที่ 14 พ.ย. - น้ำและเพศ

วันที่ 15 พ.ย. - พลังงานและภาคประชาสังคม

วันที่ 16 พ.ย. - ความหลากหลายทางชีวภาพ

วันที่ 17 พ.ย. - แนวทางแก้ปัญหา

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้อาจมีการพูดคุยเรื่องงานวิจัยต่าง ๆ ที่จะเป็นการพิสูจน์เรื่องความเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อม ระบบนิเวศ ที่เกิดขึ้นทั่วโลกว่าเกิดขึ้นจริงและกำลังรุนแรง และคาดว่ามีการพูดถึงเรื่องของอุณหภูมิของโลกที่ยังไม่มีทีท่าลดลง ตั้งแต่ประกาศภาวะฉุกเฉินออกมา ซึ่งการพูดคุยจะมีหลายแบบคือคุยกับแบบโต๊ะกลมและการตอบโต้ แบ่งปันกับผู้ฟังในวงกว้าง

สิ่งที่สังคมต้องการเห็นจากผลสำเร็จการประชุม

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีความไม่เท่าเทียมกันอย่างมาก ผู้ที่เสี่ยงต่อผลกระทบมากที่สุดคือชุมชนที่มีความรับผิดชอบน้อยที่สุดในการผลิตก๊าซเรือนกระจกของโลก และประเทศยากจนที่ไม่มีทุนในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น

เว็บไซต์ World Resources Institute กล่าวว่า เป็นเวลาหลายปีแล้วที่การประชุมสุดยอดด้านสภาพอากาศของสหประชาชาติมีหลายครั้งเกินไป ประเทศที่ร่ำรวยเพิกเฉยต่อคำวิงวอนเพื่อให้ประเทศที่อ่อนแอได้รับการสนับสนุนที่พวกเขาต้องการเพื่อเอาชนะวิกฤตสภาพภูมิอากาศ แม้ว่า COP26 ในกลาสโกว์ในปี 2564 จะเห็นภาระผูกพันจำนวนมากจากรัฐบาลและหน่วยงานอื่นๆ ในการลดการปล่อยมลพิษ จัดหาเงินทุนด้านสภาพอากาศที่มากขึ้น ควบคุมการตัดไม้ทำลายป่า และอื่นๆ ก็ยังไม่ชัดเจนว่าคำมั่นสัญญาเหล่านี้จะกลายเป็นความจริงได้อย่างไร

ดังนั้น สิ่งที่ต้องการมากที่สุดคือความสามัคคีที่มาจากใจจริงและความทะเยอทะยานในการเดินตามนโยบายที่วางเอาไว้ โดยไม่ส่งผละทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงเงินทุนที่จะต้องกระจายไม่ใช่กระจุกตัวอยู่แค่กับนายทุนบางส่วน ประเทศร่ำรวยต้องแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันในการขจัดความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้นมานาน เช่น โควิด19 สงครามรัสเซียยูเครน พิษเศรษฐกิจ ขาดแคลนพลังงาน วิกฤตอาหาร ภัยพิบัติ ที่ตกต่ำอย่างไม่เป็นธรรมกับกลุ่มประเทศเปราะบางและชุมชนชายขอบ

 COP27   เรื่องการปรับตัวก็สำคัญไม่แพ้กัน โลกจะสามารถไปต่อได้ ต้องไม่พึ่งพาการลดการปล่อยมลพิษเพียงอย่างเดียว การปรับตัวได้จะสามารถทำให้พลเมืองโลกได้รับผลกระทบน้อยลง บรรเทาหนักให้เป็นเบาได้ เพื่อให้เกิดการแก้ไขที่ยืดหยุ่น ไม่มากไปและไม่น้อยไปและที่สำคัญต้องเป็นคำสัญญาที่ไม่ใช่แค่คำพูด แต่เป็นการลงมือทำทันที

ส่วนประเทศไทย ตัวแทนเข้าร่วมประชุม คือ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะเป็นคนขึ้นพูดเป้าหมายของไทยและร่วมหารือกับนานาประเทศ ก็ต้องรอดูต่อไปว่าจะพูดประเด็นไหนบ้าง

การประชุมในครั้งนี้จึงน่าจับตามองเป็นพิเศษว่า ในแต่ละประเทศจะแก้ปัญหาที่สืบต่อจาก COP26 อย่างไร และใครเข้าร่วมบ้าง ซึ่งต้องรอการยืนยันในวันจริงเท่านั้น ในขณะที่โลกกำลังเผชิญวิกฤตและความขัดแย้งหลายด้าน

คุณล่ะคาดหวังอะไรจากการประชุมในครั้งนี้?

ที่มาข้อมูล

https://cop27.eg/#/vision#goals

https://www.un.org/en/climatechange/cop27

https://climate-diplomacy.org/events/cop-27

https://www.wri.org/un-climate-change-conference-resource-hub/key-issues-cop27

https://www.un.org/en/climatechange/cop27

ที่มา : https://www.springnews.co.th/keep-the-world/climate-change/831794

         by SUTHEEMON KUMKOOM 02 Nov 2022

สงวนลิขสิทธิ์ © 1995-2015 สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม (ธ.พ.ส.ส.).
8/16 ถ.กรุงเกษม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กทม. 10200
โทรศัพท์ 0 2280 1812 , 0 2280 6228 , 0 2280 0557 , 0 2628 6438
โทรสาร 0 2282 8877
e-mail: gseiorth@gmail.com