ฟอสซิล 56 ล้านปียืนยันภาวะโลกร้อน และน้ำเป็นกรดในมหาสมุทร


งานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งตีพิมพ์ใน วารสาร Science Advances เผยแพร่งานเขียนของ ทาลิ บาบิรา อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเซาแธมป์ตัน ประเทศอังกฤษ ซึ่งทำงานร่วมกับ เจมส์ แซคฮอส ศาสตราจารย์ด้านวิทยาศาสตร์โลกและดาวเคราะห์ และไอดา เบนสัน ลีน ประธานบริหาร Ocean Health แห่ง UC Santa Cruz เปิดเผยการวิเคราะห์ตะกอนทะเลที่สะสมอยู่ในน้ำตื้นตามแนวชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกของสหรัฐฯ ว่า การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจำนวนมหาศาล ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นจากการระเบิดของภูเขาไฟ ในช่วงเวลาของภาวะโลกร้อนรุน แรงที่รู้จักกันในชื่อ Paleo cene-Eocene Thermal Maxi mum (PETM) เมื่อประมาณ 56 ล้านปีก่อน ทำให้เกิดความเป็นกรดของน้ำในมหาสมุทรซึ่งเกิดจากการปล่อยคาร์บอนที่สั้นลง

บาบิรา บอกว่า งานวิจัยนี้ใช้วิธีการวิเคราะห์แบบใหม่ที่พัฒนาขึ้นที่ Southampton ช่วยให้นักวิจัยสามารถวิเคราะห์องค์ประกอบไอโซโทปโบรอนของ ฟอร์มินเฟอร์รา (foraminifera) ซึ่งเป็นเปลือกขนาดเล็กมากของสัตว์ทะเลขนาดเล็กในตะกอนที่นำขึ้นมาจากทะเล โดยพบว่าองค์ประกอบทางเคมีของเปลือกหอยเหล่านี้บันทึกสภาพแวดล้อมที่เกิดขึ้นและทำให้เห็นหลักฐานของอุณหภูมิน้ำผิวดินที่อุ่นขึ้นจากการเป็นกรดในมหาสมุทร โดยฟอร์มินเฟอร์ราแต่ละตัวมีการสร้างการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและสิ่งแวดล้อมขึ้นใหม่ระหว่างเหตุการณ์โลกร้อนสุด PETM อันเป็นผลมาจากมหาสมุทรดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมากจากชั้นบรรยากาศ

“ก่อนหน้านี้ ต้องใช้เปลือกหอยฟอสซิล foraminifera หลายพันตัวสำหรับการวัดไอโซโทปโบรอน แต่เครื่องมือใหม่ที่ค้นพบครั้งนี้ ทำให้เราสามารถวิเคราะห์เปลือกหอยเพียงเปลือกเดียวที่มีขนาดเท่าเม็ดทรายได้” บาบิรา บอก ขณะที่ ศ.เจมส์ แซคฮอส อธิบายว่า คาดว่าสิ่งที่ค้นพบน่าจะเป็นผลจากการปล่อยคาร์บอนในช่วงสั้นๆในเวลาที่ภูมิอากาศโลกร้อนถึงขีดสุด ซึ่งอาจต้องใช้เวลาหลายหมื่นปีในการฟื้นฟูระบบภูมิอากาศโลกจาก PETM.

Credit : Marci Robinson/USGS

ที่มา : ไทยรัฐออนไลน์ 25 มีนาคม 2565

สงวนลิขสิทธิ์ © 1995-2015 สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม (ธ.พ.ส.ส.).
8/16 ถ.กรุงเกษม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กทม. 10200
โทรศัพท์ 0 2280 1812 , 0 2280 6228 , 0 2280 0557 , 0 2628 6438
โทรสาร 0 2282 8877
e-mail: gseiorth@gmail.com