เสนอ 7 แนวทาง ทบทวน-ยกเลิกมติ นำเข้าเศษพลาสติก


องค์กรภาคประชาสังคม คัดค้านการผ่อนปรนนำเข้าเศษพลาสติก พร้อมเสนอ 7 แนวทาง ขอให้ทบทวนและยกเลิกมติ “มาตรการการกับการนำเข้าเศษพลาสติก เมื่อ 25 ม.ค.64

วันนี้ (5 ส.ค.2564) องค์กรภาคประชาสังคม นำโดยมูลนิธิบูรณะนิเวศ ได้ออกแถลงการณ์ (ฉบับที่ 2) คัดค้านการผ่อนปรนการนำเข้าเศษพลาสติก หยุดการนำเข้าเศษพลาสติกอย่างเด็ดขาดภายในปี 2564

โดยสาระสำคัญระบุว่า ปัญหาขยะพลาสติกเริ่มกลายเป็นประเด็นร้อนของสังคมไทย ภายหลังจากรัฐบาลจีนห้ามนำเข้าขยะจากต่างประเทศเมื่อปี 2560 เห็นได้จากปริมาณนำเข้าเศษพลาสติกเพิ่มขึ้นแตะ 500,000 ตันในปี 2561 และข่าวการจับกุมการลักลอบ นำเข้าขยะพลาสติกหลายราย ที่มีการสำแดงเท็จว่าเป็น “เศษพลาสติก”

ทั้งที่มีมติให้ยกเลิกนำเข้าเศษพลาสติกไปแล้ว

คณะอนุกรรมการเพื่อบูรณาการการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์และเศษพลาสติกที่นาเข้าจากต่างประเทศอย่างเป็นระบบ” ซึ่งรัฐบาลแต่งตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว มีการประชุมเมื่อวันที่ 15 ส.ค.2561 ได้มีมติให้ยกเลิกการ นำเข้าเศษพลาสติกภายใน 2 ปี (นั่นคือห้ามการนำเข้าเด็ดขาดภายในสิ้น ก.ย.2563) และกำหนดช่วงผ่อนผันการนำเข้า 2 ปี คือ ระหว่างส.ค.2561 - ส.ค.2563 โดยได้กำหนดโควตาการนำเข้า

ปีที่ 1 ให้นำเข้าได้ไม่เกิน 70,000 ตัน ปีที่ 2 ให้นำเข้าได้ไม่เกิน 40,000 ตัน ปีที่ 3 คือตั้งแต่วันที่ 30 ก.ย.2563 เป็นต้นไป

ในช่วงเดือน ก.ย.2563 สมาคมซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่าร่วมกับองค์กรภาคประชาสังคม รวม 65 องค์กรได้ ออกมาเคลื่อนไหวเพื่อให้ “คณะอนุกรรมการการบริหารจัดการขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์” รักษาคำมั่นที่จะยกเลิกการนำเข้าเศษพลาสติกเด็ดขาดตามมติ คณะอนุกรรมการฯ ชุดเดิม โดยไม่ต่อโควตาการนำเข้าเศษพลาสติก อีกต่อไป

แต่ต่อมา กลุ่มโรงงานได้พยายามผลักดันกระทรวงอุตสาหกรรมเรียกร้องให้มีการเปิดการนำเข้าเศษพลาสติก โดยอ้างว่า ขาดแคลนวัตถุดิบในประเทศ ระบุความต้องการนำเข้าเศษพลาสติกถึง 685,190 ตันต่อปี ทั้งที่ก่อนปี 2560 มีการนำเข้าเฉลี่ยไม่เกิน 56,000 ตันต่อปี และมาคมซาเล้งฯ และวงษ์พาณิชย์ได้ออกมาระบุว่ามี วัตถุดิบในประเทศอย่างเพียงพอ

ด้วยแรงกดดันจากภาคอุตสาหกรรมและกระทรวงอุตสาหกรรม คณะอนุกรรมการการบริหารจัดการขยะพลาสติก และขยะอิเล็กทรอนิกส์ จึงปรับเปลี่ยนนโยบาย คือ ไม่ประกาศมาตรการ “ยกเลิกการนำเข้าเศษพลาสติกโดย เด็ดขาด” ตามมติคณะอนุกรรมการฯ เดิมปี 2561 แต่กลับมีมติใหม่ในการประชุมเมื่อ วันที่ 25 ม.ค.2564 กำหนดแผนควบคุมการนำเข้าเศษพลาสติก

ตั้งเป้าที่จะห้ามนำเข้าในอีก 5 ปี หรือ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2569 เป็นต้นไป ระหว่างนี้ให้นำเข้าได้แต่ต้องลดสัดส่วนลงทุกปี ปี 2564 นี้ ให้นำเข้าได้ไม่เกิน 250,000 ตัน

นอกจากนี้ ทางเครือข่ายฯ ยังพบว่า ขณะที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมอ้างว่าไม่ได้ให้ใบอนุญาตนำเข้าเศษพลาสติกแล้ว แต่กลับพบการนำเข้าเศษพลาสติกอย่างต่อเนื่อง อีกประมาณ 100,000 ตันเศษต่อปี โดยเป็นการนำเข้าของโรงงานที่ตั้งอยู่ในเขตปลอดอากร และเขตประกอบการเสรี ซึ่งมีกฎหมายควบคุมแยกต่างหาก

ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงช่องว่างทางกฎหมายและเป็นช่องว่างที่สนองตอบความพยายามของกลุ่มโรงงานที่เรียกร้องขอให้อนุญาตการนาเข้าเศษพลาสติกได้อย่างต่อเนื่อง

เครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคมและสมาคมซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่า ซึ่ง ได้เฝ้าติดตามความเคลื่อนไหวดังกล่าว มี ความผิดหวังกับมติคณะอนุกรรมการฯ เมื่อวันที่ 25 ม.ค.2654 เป็นอย่างมาก

นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตว่า การประชุมของคณะอนุกรรมการฯ ในวันดังกล่าวเป็นไปอย่างเร่งรีบและไม่มีการเชิญให้ภาคประชาสังคมหรือแม้แต่สมาคมซาเล้งฯ ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงเข้าร่วมในการประชุมตามปกติด้วย

หากยังคงเปิดให้มีการนำเข้าเศษพลาสติกจะส่งผลต่อรับซื้อเศษพลาสติกในประเทศ และกระทบต่อรายได้ของซาเล้งและ ร้านรับซื้อของเก่า รวมถึงสวนทางกับนโยบายการขับเคลื่อนสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนภายใต้นโยบาย BCG (Bio- economy, Circular Economy, Green Economy) ของประเทศโดยตรง

เสนอ 7 แนวทาง หยุดนำเข้าเศษพลาสติก

ทางเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม จึงมีข้อเสนอ ดังนี้

1. ขอให้คณะอนุกรรมการการบริหารจัดการขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ทบทวนและยกเลิกมติ “มาตรการการกับการนำเข้าเศษพลาสติก เมื่อวันที่ 25 ม.ค.2564” และประกาศนโยบายที่จะห้ามนำเข้า เศษพลาสติกภายในสิ้นปี 2564 โดยเร็ว

พร้อมกันนี้ขอให้กรมควบคุมมลพิษและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งรัดการจัดเวทีการพบกันระหว่างผู้ต้องการซื้อและผู้ต้องการขายเศษพลาสติก โดยสมาคมซาเล้งและร้าน รับซื้อของเก่ายินดีให้ความร่วมมือในการจัดหาผู้ที่ต้องการขายเศษพลาสติก

2. ให้มีการแก้ไขกฎหมายในเขตประกอบการเสรีและกฎหมายเขตปลอดอากร โดยห้ามการนำเข้าเศษพลาสติก จากต่างประเทศ แต่ให้มีการใช้เศษพลาสติกในประเทศแทน
3. ให้กรมการค้าต่างประเทศ ออกประกาศกระทรวงพาณิชย์ห้ามนำเข้าเศษพลาสติก เฉกเช่นเดียวกับขยะ อิเล็กทรอนิกส์ ภายในปี 2565

4. ต้องเข้มงวดการตรวจสอบในการนำเข้า เช่น กรมศุลกากรต้องจัดทาพิกัดย่อยของพิกัดศุลากร 39.15 สำหรับใช้กำกับการตรวจสอบการนำเข้าเศษพลาสติกและพลาสติกอื่นๆ เพื่อป้องกันการสำแดงเท็จ เพิ่มบทลงโทษผู้นำเข้าและผู้แทน (shipping) ที่สำแดงเท็จ รวมทั้งเผยแพร่ความคืบหน้าของการดาเนินคดีการ จับกุมคดีลักลอบนำเข้าขยะพลาสติกและขยะอิเล็กทรอนิกส์ และเมื่อพ้นช่วงผ่อนผันแล้ว ต้องห้ามนำเข้า เศษพลาสติกพิกัดศุลกากร 39.15 ทั้งหมด

5. ในระหว่างที่ยังเปิดให้นำเข้าเศษพลาสติกได้ ให้นำเข้าได้เฉพาะที่เป็น “เม็ดพลาสติก” สำเร็จรูปพร้อมนำไป ผลิตเป็นชิ้นงานเท่านั้น ผู้ประกอบการที่จะนำเศษพลาสติกได้จะต้องได้รับการรับรอง ISO14001 เป็นขั้นต่ำ และต้องมีหลักฐานในการแสดงเพื่อพิสูจน์ว่าข้อมูลเหล่านี้มีความสอดคล้องกันตามความเป็นจริง ดังนี้

1.แสดงงบดุลการซื้อ, งบดุลการขาย, งบดุลการเสียภาษีสรรพากร ย้อนหลัง 3 ปี 2. แสดงตัวเลขการ ส่งออกและตัวเลขกำลังการผลิตที่แท้จริง ย้อนหลัง 3 ปี และ 3.อนุญาตให้นำเข้าเศษพลาสติกจากประเทศที่ ให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาบาเซลแล้วเท่านั้น

6. กระทรวงอุตสาหกรรมต้องไม่มีนโยบายรับการลงทุนอุตสาหกรรมรีไซเคิลจากต่างประเทศที่ใช้ไทยเป็นฐาน การแปรรูปเศษวัสดุจากต่างประเทศแล้วส่งออก การลงทุนแบบนี้สร้างความไม่เป็นธรรมและสร้างปัญหา สิ่งแวดล้อมรุนแรงต่อประเทศไทยเพราทิ้งกากของเสียและมลพิษให้กับประชาชนไทย ให้มีการทบทวน กฎหมายเขตปลอดอากรและเขตประกอบการเสรีและเร่งรัดประเมินมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมโรงงาน และแสดงหลักฐานว่าโรงงานที่มีการนำเข้าเศษพลาสติกและเศษวัสดุต่างๆ ได้สร้างประโยชน์ให้กับ ประเทศชาติมากน้อยเพียงใดทั้งในทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม มีการเสียภาษีอย่างครบถ้วนหรือไม่

7. ขอให้คณะอนุกรรมการฯ เพิ่มผู้แทนสมาคมซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่าและองค์กรภาคประชาสังคมเข้า ร่วมเป็นกรรมการหรือคณะทางานด้วย เพื่อสร้างความสมดุลของนโยบาย โดยคำนึงถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนและ ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งให้ผู้แทนภาคประชาสังคมร่วมในการติดตามตรวจสอบการ นาเข้าเศษพลาสติกจากต่างประเทศร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรและกรมโรงงานอุตสาหกรรมด้วย

 

รีไซเคิลที่เป็นธรรม

น.ส.เพ็ญโฉม แซ่ตั้ง ผู้อำนวยการมูลนิธิบูรณะนิเวศ แสดงความคิดเห็นช่วงหนึ่งในการแถลง เครือข่ายภาคประชาชน "คัดค้านการนำเข้า #ขยะพลาสติก โดยเด็ดขาด" ในตอนหนึ่งว่า การจัดการขยะ หรือ วัสดุที่คัดแยก พบว่ามีปัญหาหลายอย่างทั้งผลประโยชน์และการเมือง ประเทศอุตสาหกรรมก็จะมีระบบคัดแยกที่ดี และมีกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวด เพราะฉะนั้นกฎหมายเกี่ยวกับการจับปรับ การควบคุมเรื่องมลพิษ ทำให้อุตสากรรมรีไซเคิลของหลาย ๆ ประเทศ มีราคาแพง อย่างสหรัฐฯ ชัดเจนมากเท่าที่ติดตามข้อมูล หลังจากที่รู้ว่าจีนปิดประเทศไม่มีการนำเข้า หากย้อนหลังทำให้พบว่า สหรัฐฯ ห้ามให้มีโรงงานรีไซเคิลตั้งแต่ 2545 เหตุผลเพราะมีปัญหามลพิษ

มองว่าสหรัฐอเมริกาเอาเปรียบประเทศกำลังพัฒนาสูงมาก จีนรับขยะพลาสติกจากอเมริกามารีไซเคิลปีหนึ่งสูงมาก จีนเป็นตลาดที่ใหญ่มาก ครองตลาดเรื่องรับขยะมารีไซเคิล อาจจะเกือบ 50% ฉะนั้นไม่แปลกใจเลยที่จีนออกกฎหมายห้ามนำเข้า และทำไมผู้แทนการค้าของอเมริกาถึงได้เดินทางไปเจรจากับรัฐบาลจีน เพื่อให้จีนเปลี่ยนมาตรการหรือนโยบาย

ในช่วงที่ผ่านมามีการเคลื่อนไหว ขององค์การด้านสิ่งแวดล้อม หลายๆ องค์กรทั่วโลก อเมริกา ยุโรป มีการเคลื่อนไหวเรียกร้องเรื่องการรีไซเคิลที่เป็นธรรม นั้นหมายถึงว่าขยะประเทศใดก็ต้องรีไซเคิลภายในประเทศ ไม่ใช่ส่งออกมารีไซเคิลในประเทศอื่น ๆ โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย ที่มีมาตรการติดตามเรื่องสิ่งแวดล้อมกับการกำกับมลพิษที่ไม่แข็มแข็งเพียงพอ ประกอบกับการทุจริตคอร์รับชัน หรือการเห็นผลประโยชน์ของพวกพ้องของข้าราชการ นักการเมือง ทำให้ปัญหาประเทศไทยและเทะมาก ฉะนั้นตรงนี้คิดว่าเป็นเรื่องที่ต้องช่วยกันขับเคลื่อน

ในครั้งนี้เป็นการรวมตัวของเครื่อข่ายที่หลากหลายซึ่งจะเป็นก้าวที่สำคัญ ในการรวมกันเรียกร้องเรื่องการรีไซเคิลที่เป็นธรรม ขณะที่กระทรวงอุตสาหกรรมก็อย่าอ้างว่า จำเป็นต้องใช้วัตถุดิบเพราะประเทศไทยไม่ได้ขาดแคลนพลาสติกเลย อยู่ที่ว่าจะกล้าจัดการปัญหาขยะพลาสติกในประเทศให้ดีให้ได้มาตรฐานหรือไม่ ไม่ใช่จัดการแบบฉาบฉวย

ประเทศไทยต้องย้อนกลับมาและมองปัญหาภายในประเทศ แก้ไขปัญหาให้ถูกจุด และจัดการขยะของตัวเอง ซึ่งหากมีการคัดแยกที่ดี ประเทศไทยจะมีทรัพยากรมหาศาล จากวัสดุเหลือใช้เหล่านี้ไม่จำเป็นต้องนำเข้า และปัญหาสิ่งแวดล้อมจะหายไปแน่นอน

ก.มหาดไทย ต้องกล้าออกกฎหมายบังคับการคัดแยกขยะที่ต้นทางได้แล้ว มันมีประโยชน์มหาศาลและจะนำไปสู่การวางพื้นฐานที่แข็งแรงสำหรับการสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียนจากวัสดุเหลือใช้ภายในประเทศ โดยไม่ต้องไปเป็นถังขยะให้กับหลายๆ ประเทศด้วย

นำเข้าขยะ 3 ปีเพิ่ม 10 เท่า

นายชัยยุทธิ์ พลเสน นายกสมาคมซาเล้งและร้านรับซื้อของเก่า กล่าวว่า ปลายปี 2559 จีนปิดประเทศห้ามนำเข้าขยะจากต่างประเทศ ปี 2560 มีการนำเข้าก้าวกระโดด ย้อนไปปี 2558 การนำเข้าของไทยเฉลี่ยประมาณ 50,000 ตัน แต่หลังนั้นตัวเลขพุ่งขึ้นทันที และปี 2561 อยู่ที่ 552,912 ตัน ขึ้นมา 10 เท่าตัว และเพิ่มขึ้นมาตลอด

ขณะที่ปริมาณการส่งออก 180,000 ตัน ปี 2562 นำเข้า 320,000 ตัน ส่งออก 130,000 ตัน ปี 2563 นำเข้า 150,000 ตัน ส่งออก 85,000 ตัน สรุปส่งออก 3 ปี มีการนำเข้ามากกว่า 1,026,000 ตัน ส่งออก 412,000 ตัน อยู่ในไทยตอนนี้กว่า 600,000 ตัน

 ที่มา : ThaiPBS วันที่ 5 สิงหาคม 2564

สงวนลิขสิทธิ์ © 1995-2015 สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม (ธ.พ.ส.ส.).
8/16 ถ.กรุงเกษม แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กทม. 10200
โทรศัพท์ 0 2280 1812 , 0 2280 6228 , 0 2280 0557 , 0 2628 6438
โทรสาร 0 2282 8877
e-mail: gseiorth@gmail.com